Please use this identifier to cite or link to this item: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/97
Title: Management Strategies for Reliability and Leak Prevention of Chemicals and Oil in Refineries and Petrochemical Plants in Eastern Thailand
แนวทางการบริหารจัดการระบบให้ความเชื่อมั่นการป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีและน้ำมันในโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมการกลั่นและปิโตรเคมี ภาคตะวันออก
Authors: WARA BINNARAWEE
วราห์ บินนาราวี
PANNARAI LATA
พรรณราย ละตา
King Mongkut's University of Technology North Bangkok
PANNARAI LATA
พรรณราย ละตา
pannarai.l@fba.kmutnb.ac.th,pannarail@kmutnb.ac.th
pannarai.l@fba.kmutnb.ac.th,pannarail@kmutnb.ac.th
Keywords: ระบบให้ความเชื่อมั่น
ด้านประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของโปรแกรมติดตามการรั่วไหล
ด้านการฝึกอบรมและความตระหนักรู้ของบุคลากร
ด้านผลกระทบต่อการดำเนินงานและความยั่งยืน
System Ensures Confidence
Effectiveness and Reliability of Leak Tracking Programs
Personnel Training and Awareness
Operations
Sustainability
Issue Date:  9
Publisher: King Mongkut's University of Technology North Bangkok
Abstract: The purposes of this study were: 1) to study the operational characteristics of businesses in the refining and petrochemical sectors, 2) to study management approaches that ensure confidence in and prevention of oil and chemical leaks, 3) to compare the mean differences in management approaches that ensure confidence in and prevention of oil and chemical leaks based on the operational characteristics of organizations. The sample for this research comprised businesses in the refining and petrochemical sectors in the Eastern region, with 120 employees providing the relevant information. The key information is employees. Data were collected through a survey questionnaire. The management approaches for systems ensuring confidence in the prevention of chemical and oil leaks have the Cronbach’s alpha coefficients is 0.92, and the value of reliability classified by 3 dimensions, including the Cronbach’s alpha coefficients of the effectiveness and reliability of the leak monitoring program is 0.82, personnel training and awareness is 0.82 and impact on operations and sustainability is 0.79, respectively. The corrected item-total correlation ranged from 0.26 - 0.71. Descriptive analysis, t-test, ANOVA, and Scheffe were used for the data analysis. The research results revealed that: 1) The majority of respondents were male, under 40 years old, held a bachelor’s degree, had more than 10 years of work experience, earned an average monthly income of over 50,000 Baht, and held the position of Planner. Organizational operations showed that most companies had a review and monitoring period of no more than 6 months, no leaks had been reported, and severity reduction measures involved reducing operational levels. The substance that could potentially leak was hydrocarbons, and the locations of concern were above ground without insulation. 2) Data on organizational operations to ensure confidence in the prevention of oil and chemical leaks indicated that overall, the issue was considered of high importance. When examined by category, the impact on operations and sustainability ranked highest, followed by the effectiveness and reliability of leak tracking programs and personnel training and awareness. 3) The hypothesis testing indicated that differences in organizational operations affected the management approaches for ensuring confidence in and preventing leaks. These differences were categorized by the time for review and monitoring, incident characteristics, severity reduction methods, and the substances at risk of leaking. Notably, organizations with a review and monitoring period of no more than 6 months, no reported leaks but signs of under-insulation corrosion or wall thickness loss, severity reduction by operational level adjustments, and hydrocarbons as the potential leaking substance were identified. The leak-prone areas were above ground with no insulation.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินงานขององค์กรภาคธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการระบบงานให้ความเชื่อมั่นและการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของแนวทางการจัดการระบบงานให้ความเชื่อมั่นและการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี จำแนกตามลักษณะการดำเนินงานขององค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กิจการในภาคอุตสาหกรรมการกลั่นและปิโตรเคมีภาคตะวันออก ผู้ให้ข้อมูลคือ พนักงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถาม แนวทางการบริหารจัดการระบบให้ความเชื่อมั่นการป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีและน้ำมันโดยรวม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ค่าอำนาจจำแนก (Corrected Item-Total Correlation) มีอยู่ระหว่าง 0.30 - 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (Scheffe)ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย อายุน้อยกว่า 40 ปี วุฒิการศึกษาปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 50,000 บาท และตำแหน่ง Planner ลักษณะการดำเนินงานขององค์กร พบว่า ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการตรวจสอบและติดตามผล ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ลักษณะการเกิดเหตุ ยังไม่พบการรั่วไหล วิธีลดความรุนแรง ลดระดับการทำงาน สารภายในที่สามารถรั่วไหลได้ คือ สาร Hydrocarbon และตำแหน่งที่เกิดการรั่วไหล คือตำแหน่งบนดินไม่มีฉนวนหุ้ม 2) ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการระบบให้ความเชื่อมั่นการป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีและน้ำมันในโรงงานโดยรวม มีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลกระทบต่อการดำเนินงานและความยั่งยืนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของโปรแกรมติดตามการรั่วไหลและด้านการฝึกอบรมและความตระหนักรู้ของบุคลากร ตามลำดับ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน ลักษณะการดำเนินงานขององค์กรแตกต่างกันส่งผลต่อแนวทางการจัดการระบบงานให้ความเชื่อมั่นและการป้องกันการรั่วไหลแตกต่างกัน จำแนกตามระยะเวลาในการตรวจสอบและติดตามผล ลักษณะการเกิดเหตุ วิธีลดความรุนแรง และสารภายในที่สามารถรั่วไหลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีระยะเวลาในการตรวจสอบและติดตามผลไม่เกิน 6 เดือน ลักษณะการเกิดเหตุยังไม่พบการรั่วไหลแต่มีการกัดกร่อนใต้ฉนวนหรือสูญเสียความหนาของผนัง วิธีลดความรุนแรงโดยการลดระดับการทำงาน สารภายในที่สามารถรั่วไหลได้ได้คือ สาร Hydrocarbon และตำแหน่งที่เกิดการรั่วไหลบนดินไม่มีฉนวนหุ้ม
URI: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/97
Appears in Collections:FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
s6614011857258.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.