Please use this identifier to cite or link to this item: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/94
Title: Guideline of Electric Vehicle Marketing Promotion for the Eastern Region
แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่ทำให้ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคตะวันออก
Authors: VITHU NA RANONG
วิทู ณ ระนอง
PANNARAI LATA
พรรณราย ละตา
King Mongkut's University of Technology North Bangkok
PANNARAI LATA
พรรณราย ละตา
pannarai.l@fba.kmutnb.ac.th,pannarail@kmutnb.ac.th
pannarai.l@fba.kmutnb.ac.th,pannarail@kmutnb.ac.th
Keywords: การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ลักษณะทางกายภาพ การส่งเสริมการขาย การบริการหลังการขาย การสนับสนุนการมีกิจกรรมพิเศษ
Electric Vehicle Marketing Promotion Activities
Physical Characteristics
Sales Promotion
After-Sales Service
Support for Special Activities
Issue Date:  9
Publisher: King Mongkut's University of Technology North Bangkok
Abstract: This study aims to 1) examine the personal factors of individuals who decide to purchase electric vehicles, 2) investigate marketing promotion activities influencing the buyers’ decision-making, and 3) compare the approaches in marketing promotion activities that lead to the decision to buy electric cars classified by personal factors. The sample population for this study comprises 120 electric vehicle consumers in the Eastern region. The respondents are electric vehicle consumers in this area.           The research tool used is a questionnaire. The overall reliability of the promotional activity approach is 0.93. Considering each aspect individually, physical characteristics have a reliability of 0.89, sales promotion management 0.89, after-sales service 0.96, and support for special activities 0.96. The corrected item-total correlation ranges from 0.41 to 0.80. Data analysis statistics include frequencies, percentages, means, and standard deviations. The hypothesis testing statistics include t-tests, one-way ANOVA, and Scheffe’s post hoc test.The findings reveal that 1) personal factors of the respondents indicate that the majority are private company employees and others, with an average monthly income over 50,000 Baht, an average daily driving distance of less than 50 kilometers, monthly fuel expenses below 5,000 Baht, and fewer than three cars in the family. 2) Information on marketing promotion approaches influencing electric vehicle purchase decisions in the Eastern region shows an overall high level of importance. When analyzed by aspect, physical characteristics have the highest mean score, followed by after-sales service, sales promotion management, and support for special activities, respectively. 3) Hypothesis testing indicates that the personal factors affect electric vehicle consumers the approach to marketing activities influencing the decision to purchase electric vehicles, differing by occupation. This is especially true among consumers in the Eastern region who work in public service roles such as government officials, state enterprise employees, or university staff.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ที่ตัดสินใจซื้อรถไฟฟ้า 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ซื้อ 3) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่ทำให้ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แนวทางการจัดกิจกรรมโดยรวม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ค่าอำนาจจำแนก (Corrected Item-Total Correlation) มีอยู่ระหว่าง 0.41 – 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (Scheffe)ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชนและอื่นๆมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 50,000 บาทระยะทางที่ใช้รถยนต์เฉลี่ยต่อวัน ต่ำกว่า 50 กิโลเมตร มีรายจ่ายค่าเชื้อเพลิงต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวนรถยนต์ที่มีในครัวเรือน ต่ำกว่า 3 คัน กิจกรรมการใช้รถยนต์ในแต่ละวัน เพื่อเดินทางไปกลับที่ทำงาน และระยะทางต่อการชาร์จ 1 ครั้งที่ใช้งาน ต่ำกว่า 300 กิโลเมตร 2) ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่ทำให้ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคตะวันออกโดยรวม มีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านลักษณะทางกายภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการบริการหลังการขาย ด้านการจัดการส่งเสริมการขาย และ ด้านการสนับสนุนการมีกิจกรรมพิเศษ ตามลำดับ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าต่างกันส่งผลต่อแนวทางกิจกรรมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแตกต่างกัน จำแนกตามอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริโภครถยนต์ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกที่มีอาชีพข้าราชการ / พนักงานราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ / พนักงานมหาวิทยาลัย ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันส่งผลต่อแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่ทำให้ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแตกต่างกัน จำแนกตามรายจ่ายค่าเชื้อเพลิงต่อเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มรายจ่ายค่าเชื้อเพลิงต่อเดือนตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไป ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันส่งผลต่อแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่ทำให้ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแตกต่างกัน จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มรายได้มากกว่า 50,000 บาท
URI: http://kmutnb-ir.kmutnb.ac.th/jspui/handle/123456789/94
Appears in Collections:FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
s6614011857070.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.